ใบงานที่ 8 สรุปเนื้อหา

1. เรื่องการเขียนโครงการและการบริหารจัดการโครงการเพื่อพัฒนานักเรียนและสถานศึกษา ความหมายของโครงการโครงการ หมายถึง การวางแผนล่วงหน้าที่จัดทำขึ้นอย่างมีระบบประกอบด้วยกิจกรรมย่อยหลายกิจกรรมที่ต้องใช้ทรัพยากรในการดำเนินงาน และคาดหวังที่จะได้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า แต่ละโครงการมีเป้าหมายเพื่อการผลิตหรือการให้บริการเพื่อเพิ่มพูนสมรรถภาพของแผนงานลักษณะสำคัญของโครงการ1.ต้องมีระบบ2.ต้องมีวัตถุประสงค์ชัดเจน3.ต้องเป็นการดำเนินงานในอนาคต4. เป็นการดำเนินงานชั่วคราวลักษณะของโครงการที่ดีสามารถแก้ปัญหาขององค์การหรือหน่วยงานนั้น ๆ ได้1. มีรายละเอียด วัตถุประสงค์เป้าหมายต่าง ๆ ชัดเจน สามารถดำเนินงานได้ มีความเป็นไปได้2 .รายละเอียดของโครงการต่อเนื่องสอดคล้องสัมพันธ์กัน3. ตอบสนองความต้องการของกลุ่มชน สังคมและประเทศชาติ4. ปฏิบัติแล้วสอดคล้องกับแผนงานหลักขององค์การ5. กำหนดขึ้นอย่างมีข้อมูลความจริงและเป็นข้อมูลที่ได้รับการวิเคราะห์อย่างรอบคอบ6. ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารทุกด้าน โดยเฉพาะด้านทรัพยากรที่จำเป็น7. มีระยะเวลาในการดำเนินงานแน่นอน ระบุวันเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุด8. สามารถติดตามประเมินผลได้ประเภทโครงการ1.โครงการที่เสนอโดยตัวบุคคล2. โครงการที่เสนอโดยกลุ่มบุคคล3. โครงการที่เสนอโดยหน่อยงานการบริหารโครงการการบริหารโครงการคือ การติดตามว่าโครงการคืบหน้าแค่ไหน ติดปัญหาอะไรอยู่ และจัดการทรัพยากรให้โครงการสำเร็จตามเป้าหมาย ภายใต้ระยะเวลาและงบประมาณที่มีการบริหารโครงการมี 9 เรื่องที่ควรพิจารณา1. การบริหารภาพรวม (Total Management)2. การบริหารขอบเขต (Scope Management)3. การบริหารเวลา (Time Management)4. การบริหารค่าใช้จ่าย (Cost Management)5. การบริหารคุณภาพ (Quality Management)6. การบริหารองค์กร (Organization Management)7. การบริหารการสื่อสาร (Communication Management)8. การบริหารอุปทาน (Supply Management)9. การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)2. เรื่องการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาความหมายของแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาจากการที่ข้าพเจ้าได้ศึกษาในเรื่องของความหมายของความหมายของแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา นั้น ข้าพเจ้าสรุปว่า แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาคือ แผนงานที่จัดทำขึ้งอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วยเป้าหมาย แนวปฏิบัติ ยุทธศาสตร์ที่สมบูรณ์ครบถ้วน เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย ของแต่ละกิจกรรมที่มีส่วนร่วมกันทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกระบวนการจัดทำแผนมี 6 ขั้นตอนดังนี้1. เตรียมการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา2. ประเมินความต้องการและความจำเป็นของสถานศึกษา3. วิเคราะห์ปัญหา สาเหตุ และพิจารณาแนวทางการแก้ไขตามประเด็นสำคัญการพัฒนา4. กำหนดแผนปฏิบัติรายปี5. เขียนแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา6. นำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่การปฏิบัติ3.เรื่องการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา- เป็นโครงการ การประชุมเชิงปฏิบัติการที่ดี เพื่อครู และผู้บริหารนำแนวทางนี้ ไปพัฒนาการศึกษาระดับศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษา สู่การพัฒนาระดับโรงเรียน-จากข้อมูลผลการประเมินระดับชาติ และการประเมินระดับเขตพื้นที่ ระดับโรงเรียน ให้นำข้อมูลมาพัฒนา และปรับปรุง ให้เกิดประโยชน์- ท่านรู้ข้อมูลโรงเรียนของท่านหรือยัง มีข้อมูลจะบอกอะไรบ้างจุดยืน ข้อมูลที่จะให้เรารู้ว่า เราอยู่ตรงไหน อย่างไรจุดเด่น / จุดด้อย ส่วนที่สามารถจะโชว์ แสดง เป็น Best Practiceเป้าหมาย / ทิศทางการพัฒนา / ปรับปรุง สามารถจะกำหนดเป้าหมาย ทิศทาง หรือไปปรับปรุงได้ความคาดหวัง การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนจากข้อมูลพื้นฐาน และข้อมูลการประเมิน1. ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลผลการประเมินแยกตามวิชา / สาระ ภาพรวม เขตพื้นที่ โรงเรียน นักเรียน2. ปรับแผน3. กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ4. ยกระดับคุณภาพสามารถสร้างมูลค่า เพิ่มในตัวเด็ก พัฒนากลุ่มเด็ก แยกเด็กเป็นกลุ่มเก่ง ปานกลาง และอ่อนการคำนึงถึงผลการประเมินคุณภาพภายนอก จาก สมศ. รางวัลความสำเร็จ เป้าหมายที่สำคัญคือตัวเด็กนักเรียนการจัดการเรียนการสอน -เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ- เน้นอ่านคล่อง เขียนคล่องการวัดผลประเมินผล - เครื่องมือวัดที่มีคุณภาพ- ประเมินผลตามสภาพจริง (Authentic Assessment)การประกันคุณภาพภายใน - คำนึงถึงตัวชี้วัด ตามมาตรฐานการเรียนรู้ - มีการดำเนินการตามระบบ PDCA- SIP (School Implement Plan )-SAR (Self Assessment Report)- CAR ( Classroom Action Research)บทบาทผู้บริหาร- ผู้นำการเปลี่ยนแปลง- ผู้นำการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนบทบาทของครู ในการขับเคลื่อน1. ศึกษาข้อมูลด้านการเรียนการสอน2. คุณรู้จักนักเรียนตามระดับคุณภาพ แยกนักเรียน3. ช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มอ่อน4. นักเรียนกลุ่มเก่ง พัฒนาสภาพการณ์ปัจจุบันและปัญหาของโรงเรียนขนาดเล็ก- ด้านบริหารจัดการ- ด้านการเรียนการสอน- ความพร้อมปัจจัยสนับสนุน- การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา4. การประเมินผลทางการศึกษา
การประเมินผล (Evaluation) หมายถึง การนำเอาข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากการวัดรวมกับการใช้วิจารณญาณของผู้ประเมินมาใช้ในการตัดสินใจ โดยการเปรียบเทียบกับเกณฑ์ เพื่อให้ได้ผลเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เนื้อหมูชิ้นนี้หนัก 0.5 กิโลกรัมเป็นเนื้อหมูชิ้นที่เบาที่สุดในร้าน (เปรียบเทียบกันภายในกลุ่ม) เด็กชายแดงได้คะแนนวิชาภาษาไทย 42 คะแนนซึ่งไม่ถึง 50 คะแนนถือว่าสอบไม่ผ่าน (ใช้เกณฑ์ที่ครูสร้างขึ้น) เป็นต้นการประเมินผลแบ่งได้เป็น 2 ประเภท การประเมินแบบอิงกลุ่มและการประเมินแบบอิงเกณฑ์1. การประเมินแบบอิงกลุ่ม เป็นการเปรียบเทียบคะแนนจากแบบทดสอบหรือผลงานของบุคคลใดบุคคลหนึ่งกับบุคคลอื่น ๆ ที่ได้ทำแบบทดสอบเดียวกันหรือได้ทำงานอย่างเดียวกัน นั่นคือเป็นการใช้เพื่อจำแนกหรือจัดลำดับบุคคลในกลุ่ม การประเมินแบบนี้มักใช้กับการ การประเมินเพื่อคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ หรือการสอบชิงทุนต่าง ๆ2. การประเมินแบบอิงเกณฑ์ เป็นการเปรียบเทียบคะแนนจากแบบทดสอบหรือผลงานของบุคคลใดบุคคลหนึ่งกับเกณฑ์หรือจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ เช่น การประเมินระหว่างการเรียนการสอนว่าผู้เรียนได้บรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ได้กำหนดไว้หรือไม่
มีองค์ประกอบ 3 ประการคือ1. ผลการวัด( Measurement) ทำให้ทราบสภาพความจริงของสิ่งที่จะประเมินว่ามีปริมาณเท่าไร มีคุณสมบัติอย่างไร เพื่อนำข้อมูลไปพิจารณา2. เกณฑ์การพิจารณา ( criteria) ในการที่จะตัดสินใจหรือลงสรุปสิ่งใดจะต้องมีมาตรฐานสำหรับสิ่งที่จะเปรียบเทียบกับสิ่งที่ได้จากการวัด3. การตัดสินใจ ( Decision ) เป็นการชี้ขาดหรือสรุปผลการเปรียบเทียบระหว่างผลการวัดกับเกณฑ์ที่กำหนดว่าสอดคล้องกันหรือไม่ การตัดสินใจที่ดีต้องอาศัยการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน กระทำอย่างยุติธรรมความมุ่งหมายของการประเมินทางการศึกษาการประเมินทางการศึกษามีความหมายทางการประเมินทางการประเมินพอสรุปได้ 3 ประการ1. การประเมินเพื่อวินิจฉัย เป็นการประเมินเพื่อตรวจสอบหาข้อบกพร่อง ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน2. การประเมินเพื่อปรับปรุง เป็นการปรับปรุงระหว่างการดำเนินงานโดยพิจารณาว่าจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ตรงกับความต้องการ และเป็นที่ยอมรับหรือไม่3. การประเมินเพื่อตัดสินเพื่อลงสรุป เป็นประเมินการดำเนินงานว่าการดำเนินงานนั้นมีประสิทธิภาพหรือไม่ความสำคัญของการประเมินทางการศึกษา1. ช่วยชี้ให้เห็นว่าการดำเนินงานเหมาะสมเพียงใด2. ทำให้ทราบว่าการดำเนินงานบรรลุตามจุดประสงค์หรือไม่3. ช่วยกระตุ้นให้มีการเร่งรัด ปรับปรุง และการดำเนินงาน4. ช่วยเห็นข้อบกพร่องในการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนเป็นหลักในการปรับปรุงในการดำเนินงาน5. ช่วยควบคุมการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ6. เป็นแนวทางในการกำหนดวิธีการในการดำเนินงานครั้งต่อไปหลักการของการประเมินผลทางการศึกษา1. กำหนดสิ่งที่จะประเมินให้ชัดเจนและวัดได้ เป็นการกำหนดว่าจะตัดสินใจให้คุณค่าในเรื่องอะไร2. วางแผนการประเมินให้รัดกุม ผู้ประเมินมีการวางแผนเก็บข้อมูล ที่เที่ยงตรงและเชื่อมั่นได้3. เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินต้องสัมพันธ์กับสิ่งที่ต้องการวัดและจุดมุ่งหมายของการประเมิน4. เลือกใช้เครื่องมือในการประเมินที่มีคุณภาพให้เหมาะสมกับสิ่งที่จะประเมิน5. ปราศจากความลำเอียงสรุปแล้วการประเมินจะต้องใช้ดุลยพินิจด้วยความรอบคอบก่อนตัดสินใจ จะต้องประเมินด้วยความเที่ยงธรรมและมีคุณธรรมอย่างสูง