แสดงความคิดเห็น

จากการที่ได้เรียนวิชาการจัดการชั้นเรียนโดยใช้ weblog หรือ blog ผู้เรียนเห็นว่าการใช้งานนี้มีจุดเด่นจุดด้อยอย่างไร

จุดเด่น
การเรียนวิชาการจัดการชั้นเรียนโดยการเรียนผ่าน  weblog หรือ blog เป็นการเรียนที่ใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย สะดวกในการเรียน ใช้เป็นสื่อการสอนที่ดี สามารถทำไว้ล่วงหน้าไดและสามารถเข้ามาปรัยแต่งแก้ไขได้ตลอดเวลา
จุดด้อย
weblog หรือ blog เป็นสื่อที่ใหม่ ทำให้ไม่มีความรู้พื้นฐานในเรื่องนี้เลย และระยะในการเรียนน้อย ทำให้ทำไม่ค่อยเป็น และไม่ค่อยมีเวลาในการทำ สัญญาณอินเตอรฺเน็ตไม่มี ทำให้เกิดความลำบากในการทำงาน

ส่งงาน

รายงานกลุ่ม 3

ข้อสอบ

ให้นักเรียนตอบข้อสอบลงใน weblog ของนักเรียนแต่ละคน
คำสั่ง: ให้นักเรียนทำข้อสอบโดยการแสดงความคิดเห็นสะท้อนข้อคิดพร้อมตัวอย่างประกอบในการแสดงความคิดเห็นให้เป็นเหตุเป็นผลของผู้เรียน

ข้อที่ 1. กรณีที่เกิดความวุ่นวายของบ้านเมืองโดยเฉพาะผู้นำประเทศที่ผ่านมา ท่านในฐานะเป็นครูพันธ์ใหม่ ท่านจะแสดงความคิดเห็น อดีตนายกทักษิณ ทั้งข้อดีข้อเสียของท่าน หากพิจารณาข้อดีข้อเสียของท่านมาสอนให้ผู้เรียนเกิดความคิดที่จะเป็นผู้นำที่ดีได้อย่างไร
ตอบ ในฐานะที่ดิฉันเป็นครูพันธ์ใหม่ ดิฉันคิดว่าทุกคนนั้นมีข้อดีข้อเสียกันทุกคนแต่จะแตกต่างกันที่ข้อดีและข้อเสียของใครนั้นจะมีมากกว่ากัน และสำหรับนายกทักษิณนั้นท่านก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียของท่านเอง หากจะพิจารณาข้อดีข้อเสียของท่านมาสอนให้ผูเรียนเกิดความคิดที่จะเป็นผู้นำที่ดี ดิฉันคิดว่าข้อดีของท่านคือ ท่านเป็นผู้นำที่ดี เป็นนักบริหารประเทศที่เก่งคนหนึ่ง ในวาระการเป็นนายกของท่านท่านจะให้ความช่วยเหลือประชาชนในระดับรากหญ้าเป็นส่วนใหญ่ เป็นนายกที่ทำให้เศรษฐกิจในช่วงนั้นรุ่งเรือง เป็นนายกที่มีสวัสดิการในการรักษาพยาบาลที่มีความเสมอภาคกันทุกระดับ และเรื่องที่สำคัญคือท่านเป็นนายกที่เห็นความสำคํญของวัยรุ่นที่เป็นอนาคตของประเทศท่านจึงสั่งให้ปราบปรามยาเสพติด และในช่วงนั้นยาเสพติดก็ได้ลดน้อยลงไป และสำหรับข้อเสียของท่าน คือ เรื่องที่เลวร้ายที่สุดคือการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ต่อพระมหากษัตริย์ที่คนทั้งประเทศรักและเคารพนับถือ ท่านเป็นคนที่มีความโลภ จึงได้ฉ้อราษฎร์บังหลวง คตโกงประเทศที่ท่านอยู่ผืนแผ่นดินที่โอบอุ้มชีวิตของท่านเอง หากพิจารณาข้อดีข้อเสียของท่านมาสอนให้ผู้เรียนเกิดความคิดที่จะเป็นผู้นำที่ดี คือ นายกทักษิณเป็นผู้นำที่เก่งและเหมาะสำหรับการนำไปเป็นแบบอย่างที่ดี คือเราควรนำแต่ข้อดีของท่านมาเป็นตัวอย่างในการเป็นผู้นำในทกเรื่อง และควรนำข้อเสียของท่านที่ท่านได้ปฎิบัตินำมาเป็นข้อคิด ใช้เป็นข้อเตือนใจไว้เสมอว่าทำสิ่งไหนไปแล้วก็จะได้สิ่งนั้นตอบแทนมาเสมอ เพราะผลตอบแทนที่ได้มาในตอนนี้ของท่านคือการที่ไม่มีโอกาศที่จะได้อยู่ในแผ่นดินเกิดของตัวเองแล้ว ฉะนั้นเราควรนำสิ่งที่ดีๆของท่านมาใช้เป็นแบบอย่างและจ้อเสียสิ่งที่ไม่ดีของท่านมาเป็นข้อคิด
และในการเป็นผู้นำที่ดีนั้นควรสื่อสัตย์สุจริต เพราะว่าเราจะยังมีชีวิตอยู่หรือเสียชีวิตไปแล้วแต่สิ่งที่ยังอยู่กับชื่อของเราไปตลอดก็คือความดี และความเลวของเราเท่านั้นดั่งคำกลอนที่ว่า
โคควายวายชีพได้เขาหนัง
เป็นสิ่งเป็นอันยังอยู่ไซร้
คนดับสังขารร้าง
เหลือไว้เพียงชั่วดี

ข้อที่ 2. การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนที่จะให้มีประสิทธืภาพจะมีวิธีคิดอย่างไรหากเป็นครูที่ดีควรเตรียมการเป็นครูที่ดีอย่างไรให้ท่านแสดงความคิดเห็นของท่านเอง
ตอบ ในการจัดการเรียนสอนในชั้นเรียนการจัดบรรยากาศในชั้นเรียนมีความสำคํญที่จะคอยส่งเสริมความสนใจต่อการเรียนการสอนเป็นอย่างดีเพราะถ้าห้องเรียนมีความอบอุ่น มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ก็จะเป็นแรงจูงใจที่จะกระตุ้นให้ผู้เรียนสนใจในการเรียนและรักในการเรียน นักเรียนมีความสัมพันธ์กันดี และการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนให้มีประสิทธิภาพควรจัดให้นักเรียนมีความรู้มากที่สุดคือใช้นักเรียนเป็นศูนย์กลางในการเรียนการสอน และครูจะเป็นผู้ที่คอยเสริมในเนื้อหาที่ยาก และในการจัดเรียนการสอนในชั้นเรียนนั้นควรจัดในรูปแบบเพื่อนช่วยเพื่อนเพราะในการเรียนเพื่อนด้วยกันจะช่วยกันได้ดีและทำให้เพื่อนร่วมห้องมีความรักสามัคคีกันด้วย หากดิฉันเป็นครูที่ดีสิ่งแรกที่ฉันจะต้องมีคือความศรัทธาในอาชีพของครู
และก่อนการสอนทุกครั้งดิฉันจะต้องเตรียมตัวของตัวเองให้ดีก่อนการสอนและเตรียมเนื้อหาการสอนไว้ล่วงหน้าเพื่อความแม่นยำของเนื้อหา หาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยเพื่อใช้ในการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนได้มีความเท่าทันต่อเทคโนโลยีตลอดเวลา

ข้อที่ 3. ในฐานะท่านเป็นครูพันธ์ใหม่ท่านจะนำนวัตกรรมการจัดสอนมาใช้การเรียนการสอนแบบใหม่ได้อย่างไร
ตอบ ในฐานะที่ดิฉันเป็นครูพันธ์ใหม่ดิฉันจะนำนวัตกรรมที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอน เพื่อให้มีการเรียนการสอนรูปแบบใหม่ เช่นการเรียนการสอนแบบ weblog การสอนแบบ e-book กานสอนแบบใช้โปรแกรม GSP การใช้สื่อจากคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เพราะทำให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจมากยิ่งขึ้นและจะได้เห็นเป็นรูปธรรมมากขึ้น เพราะในปัจจุบันนี้การเรียนการสอนจะใช้เทคโนโลยีเข้ามามีส่วนช่วยในการเรียนการสอนเป็นอย่างมาก

ข้อที่ 4. การประกันคุณภาพมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการในชั้นเรียนได้อย่างไร
ตอบ การประกันคุณภาพมีความสำคัญต่อการบริหารจัดการในชั้นเรียนเป็นอย่างมาก เพราะการประกันคุณภาพจะส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้ปกครองในการจะส่งบุตรหลานของตนเองเข้ารับการศึกษาในสถานศึกษาสักแห่งหนึ่งจะต้องมีความไว้วางใจในการจัดการเรียนการสอนและการประกันคุณภาพเป็นอย่างดี และทำผู้เรียนได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพจากการจัดกระบวนการเรียนการสอนที่ดีมีความเท่าทันและแข่งขันกับสถานศึกษาอื่นๆได้อย่างภาคภูมิใจถึงแม้จะเป็นโรงเรียนที่อยู่ตามชนบทก็ตาม

ข้อที่ 5. ให้ผู้เรียนประเมิณผู้สอนทั้งข้อดีข้อเสียและข้อเสนอแนะเพื่อที่จะนำไปปรับปรุงการเรียนการสอนต่อไป
ตอบ ข้อดี
- อาจารย์เป็นคนที่นำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการสอน
- ตรงต่อเวลา
- มีอัธยาศัยที่ดี
- รับฟังความคิดเห็นของนักศึกษาตลอดเวลา
- ดูแลเอาใจใส่นักศึกษาเสมอ
ข้อเสีย
- บางครั้งอาจารย์สอนเร็วเกินไปทำให้ทำตามไม่ทัน
-บางคนไม่มีคอมพิวเตอร์ทำให้นักศึกษามีความลำบากในการทำงาน


การจัดการบริหารในชั้นเรียน

ดิฉันคิดว่าการจัดบรรยากาศในห้องเรียนเป็นปัจจัยที่สำคัญสำหรับการเรียนการสอนของครูและนักเรียนเพราะการจัดบรรยากาศในห้งเรียนนั้นจะเป็นแรงเสริมที่คอยกระตุ้นการเรียการสอนให้เป็นไปอย่างราบรื่น มีความสดใส ความสนุกสนานในการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี เพราะฉะนั้นการจัดบรรยากาศในห้องเรียนควรจัดให้เป็นห้องที่โป่งแสง สะอาด และควรจัดห้องเรียนให้มีความเหมาะสมกับจำนวนนักเรียนในห้องเรียน จัดให้มีมุมความรู้ที่จะคอยเป็นที่พักผ่อนของนักเรียนได้ผ่อนคลาย มีที่เก็บผลงานนักเรียนและจัดสถานที่ให้เหมาะสมกับอุปกรณ์ในห้องเรียน เพราะฉะนั้นการจัดบรรยากาศในห้องเรียนจะช่วยให้นักเรียนที่อยู่ในห้องเรียนเดียวกันมีความรักความสามัคคีและมีความรักความห่วงแหนห้องเรียนของตนเองเป็นอย่างดีและที่สำคัญคือทำให้สุขภาพจิตของนักเรียนในห้องดีกันทุกคน มีความกระตือรือร้นในการเรียนเป็นอย่างดี






นายปรีดี พนมยงค์




ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ หรือ หลวงประดิฐ์มนูธรรม ถึงแม้ท่านจะเสียชีวิตไปนานแล้วแต่ผลงานในการเป็นผู้นำของท่านยังเป็นแบบอย่างที่ดีในการเป็นผู้นำในเรื่องต่างๆของเราในปัจจุบันนี้ ท่านเป็นบุคคลสำคัญในการเปลี่ยนแปลงต่างๆของประเทศไทย และเราในฐานะคนไทยควรยึดเป็นแบบอย่างในการเป็นผู้นำ และนำมาปรับปรุงในการเป็นผู้นำของเรา
ประวัติในวัยเยาว์ของท่านปรีดี พนมยงค์
นายปรีดี พนมยงค์ เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2443 ณ เรือนแพหน้าวัดพนมยงค์ ต.ท่าวาสุกรี อ.กรุงเก่า จ.พระนครศร๊อยุธยา ในครอบครัวชาวนาไทย เป็นบุตรคนที่ 2 จากจำนวนพี่น้อง 6 คน ของลูกนายเสียงและนางลูกจันทร์ พนมยงค์
ผลงานการเป็นผู้นำของท่านปรีดี พนมยงค์
นายปรีดี พนมยงค์ ท่านเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย 3 สมัย และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆอีกหลายสมัย นี่ไม่ใช่บทบาทการเป็นผู้นำของท่านมีเพียงเท่านี้แต่ท่านยังมีบทบาทอีกมากมายในการเป็นผู้นำของท่าน 11 พฤษภาคม 2543-2 พฤษภาคม 2526 ท่านเป็นผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ท่านถือเป็นผู้นำในการมีบทบาทสำคัญในการจัดวางรูปแบบการปกครองในระบบใหม่ เป็นผู้ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศและเป็นท่านเป็นผู้ก่อตั้ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ประศาสน์การคนแรกและคนเดียวของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ และในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านเป็นผู้นำขบวนการเสรีไทยทำหน้าที่ต่อต้านกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการเป็นผู้แพ้สงคราม จากการที่ดิฉันได้ศึกษาประวัติและผลงานของท่านปรีดี พนมยงค์ ดิฉันคิดว่าบทบาทการเป็นผู้นำของท่านให้แง่คิดที่ดีๆแก่ลูกหลานของคนไทยในสมัยนี้ได้เป็นอย่างดีตอนท่านยังมีชีวิตอยู่ท่านได้ปกป้องประเทศไทยในการแพ้สงคราม ทำทุกวิถีทางที่ให้ประเทศไทยอยู่อย่างสงบสุข และนี้คือบุคคลที่สำคัญที่เป็นบบอย่างที่ดีในการเป็นผู้นำของดิฉัน





ใบงานที่ 8 สรุปเนื้อหา

1. เรื่องการเขียนโครงการและการบริหารจัดการโครงการเพื่อพัฒนานักเรียนและสถานศึกษา ความหมายของโครงการโครงการ หมายถึง การวางแผนล่วงหน้าที่จัดทำขึ้นอย่างมีระบบประกอบด้วยกิจกรรมย่อยหลายกิจกรรมที่ต้องใช้ทรัพยากรในการดำเนินงาน และคาดหวังที่จะได้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่า แต่ละโครงการมีเป้าหมายเพื่อการผลิตหรือการให้บริการเพื่อเพิ่มพูนสมรรถภาพของแผนงานลักษณะสำคัญของโครงการ1.ต้องมีระบบ2.ต้องมีวัตถุประสงค์ชัดเจน3.ต้องเป็นการดำเนินงานในอนาคต4. เป็นการดำเนินงานชั่วคราวลักษณะของโครงการที่ดีสามารถแก้ปัญหาขององค์การหรือหน่วยงานนั้น ๆ ได้1. มีรายละเอียด วัตถุประสงค์เป้าหมายต่าง ๆ ชัดเจน สามารถดำเนินงานได้ มีความเป็นไปได้2 .รายละเอียดของโครงการต่อเนื่องสอดคล้องสัมพันธ์กัน3. ตอบสนองความต้องการของกลุ่มชน สังคมและประเทศชาติ4. ปฏิบัติแล้วสอดคล้องกับแผนงานหลักขององค์การ5. กำหนดขึ้นอย่างมีข้อมูลความจริงและเป็นข้อมูลที่ได้รับการวิเคราะห์อย่างรอบคอบ6. ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารทุกด้าน โดยเฉพาะด้านทรัพยากรที่จำเป็น7. มีระยะเวลาในการดำเนินงานแน่นอน ระบุวันเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุด8. สามารถติดตามประเมินผลได้ประเภทโครงการ1.โครงการที่เสนอโดยตัวบุคคล2. โครงการที่เสนอโดยกลุ่มบุคคล3. โครงการที่เสนอโดยหน่อยงานการบริหารโครงการการบริหารโครงการคือ การติดตามว่าโครงการคืบหน้าแค่ไหน ติดปัญหาอะไรอยู่ และจัดการทรัพยากรให้โครงการสำเร็จตามเป้าหมาย ภายใต้ระยะเวลาและงบประมาณที่มีการบริหารโครงการมี 9 เรื่องที่ควรพิจารณา1. การบริหารภาพรวม (Total Management)2. การบริหารขอบเขต (Scope Management)3. การบริหารเวลา (Time Management)4. การบริหารค่าใช้จ่าย (Cost Management)5. การบริหารคุณภาพ (Quality Management)6. การบริหารองค์กร (Organization Management)7. การบริหารการสื่อสาร (Communication Management)8. การบริหารอุปทาน (Supply Management)9. การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)2. เรื่องการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาความหมายของแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาจากการที่ข้าพเจ้าได้ศึกษาในเรื่องของความหมายของความหมายของแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา นั้น ข้าพเจ้าสรุปว่า แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาคือ แผนงานที่จัดทำขึ้งอย่างเป็นระบบ ประกอบด้วยเป้าหมาย แนวปฏิบัติ ยุทธศาสตร์ที่สมบูรณ์ครบถ้วน เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมาย ของแต่ละกิจกรรมที่มีส่วนร่วมกันทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกระบวนการจัดทำแผนมี 6 ขั้นตอนดังนี้1. เตรียมการจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา2. ประเมินความต้องการและความจำเป็นของสถานศึกษา3. วิเคราะห์ปัญหา สาเหตุ และพิจารณาแนวทางการแก้ไขตามประเด็นสำคัญการพัฒนา4. กำหนดแผนปฏิบัติรายปี5. เขียนแผนพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา6. นำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาสู่การปฏิบัติ3.เรื่องการบริหารจัดการเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาการวางแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา- เป็นโครงการ การประชุมเชิงปฏิบัติการที่ดี เพื่อครู และผู้บริหารนำแนวทางนี้ ไปพัฒนาการศึกษาระดับศูนย์พัฒนาคุณภาพการศึกษา สู่การพัฒนาระดับโรงเรียน-จากข้อมูลผลการประเมินระดับชาติ และการประเมินระดับเขตพื้นที่ ระดับโรงเรียน ให้นำข้อมูลมาพัฒนา และปรับปรุง ให้เกิดประโยชน์- ท่านรู้ข้อมูลโรงเรียนของท่านหรือยัง มีข้อมูลจะบอกอะไรบ้างจุดยืน ข้อมูลที่จะให้เรารู้ว่า เราอยู่ตรงไหน อย่างไรจุดเด่น / จุดด้อย ส่วนที่สามารถจะโชว์ แสดง เป็น Best Practiceเป้าหมาย / ทิศทางการพัฒนา / ปรับปรุง สามารถจะกำหนดเป้าหมาย ทิศทาง หรือไปปรับปรุงได้ความคาดหวัง การพัฒนาคุณภาพผู้เรียนจากข้อมูลพื้นฐาน และข้อมูลการประเมิน1. ศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลผลการประเมินแยกตามวิชา / สาระ ภาพรวม เขตพื้นที่ โรงเรียน นักเรียน2. ปรับแผน3. กำหนดตัวชี้วัดความสำเร็จ4. ยกระดับคุณภาพสามารถสร้างมูลค่า เพิ่มในตัวเด็ก พัฒนากลุ่มเด็ก แยกเด็กเป็นกลุ่มเก่ง ปานกลาง และอ่อนการคำนึงถึงผลการประเมินคุณภาพภายนอก จาก สมศ. รางวัลความสำเร็จ เป้าหมายที่สำคัญคือตัวเด็กนักเรียนการจัดการเรียนการสอน -เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ- เน้นอ่านคล่อง เขียนคล่องการวัดผลประเมินผล - เครื่องมือวัดที่มีคุณภาพ- ประเมินผลตามสภาพจริง (Authentic Assessment)การประกันคุณภาพภายใน - คำนึงถึงตัวชี้วัด ตามมาตรฐานการเรียนรู้ - มีการดำเนินการตามระบบ PDCA- SIP (School Implement Plan )-SAR (Self Assessment Report)- CAR ( Classroom Action Research)บทบาทผู้บริหาร- ผู้นำการเปลี่ยนแปลง- ผู้นำการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนบทบาทของครู ในการขับเคลื่อน1. ศึกษาข้อมูลด้านการเรียนการสอน2. คุณรู้จักนักเรียนตามระดับคุณภาพ แยกนักเรียน3. ช่วยเหลือนักเรียนกลุ่มอ่อน4. นักเรียนกลุ่มเก่ง พัฒนาสภาพการณ์ปัจจุบันและปัญหาของโรงเรียนขนาดเล็ก- ด้านบริหารจัดการ- ด้านการเรียนการสอน- ความพร้อมปัจจัยสนับสนุน- การมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา4. การประเมินผลทางการศึกษา
การประเมินผล (Evaluation) หมายถึง การนำเอาข้อมูลต่าง ๆ ที่ได้จากการวัดรวมกับการใช้วิจารณญาณของผู้ประเมินมาใช้ในการตัดสินใจ โดยการเปรียบเทียบกับเกณฑ์ เพื่อให้ได้ผลเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เนื้อหมูชิ้นนี้หนัก 0.5 กิโลกรัมเป็นเนื้อหมูชิ้นที่เบาที่สุดในร้าน (เปรียบเทียบกันภายในกลุ่ม) เด็กชายแดงได้คะแนนวิชาภาษาไทย 42 คะแนนซึ่งไม่ถึง 50 คะแนนถือว่าสอบไม่ผ่าน (ใช้เกณฑ์ที่ครูสร้างขึ้น) เป็นต้นการประเมินผลแบ่งได้เป็น 2 ประเภท การประเมินแบบอิงกลุ่มและการประเมินแบบอิงเกณฑ์1. การประเมินแบบอิงกลุ่ม เป็นการเปรียบเทียบคะแนนจากแบบทดสอบหรือผลงานของบุคคลใดบุคคลหนึ่งกับบุคคลอื่น ๆ ที่ได้ทำแบบทดสอบเดียวกันหรือได้ทำงานอย่างเดียวกัน นั่นคือเป็นการใช้เพื่อจำแนกหรือจัดลำดับบุคคลในกลุ่ม การประเมินแบบนี้มักใช้กับการ การประเมินเพื่อคัดเลือกเข้าศึกษาต่อ หรือการสอบชิงทุนต่าง ๆ2. การประเมินแบบอิงเกณฑ์ เป็นการเปรียบเทียบคะแนนจากแบบทดสอบหรือผลงานของบุคคลใดบุคคลหนึ่งกับเกณฑ์หรือจุดมุ่งหมายที่ได้กำหนดไว้ เช่น การประเมินระหว่างการเรียนการสอนว่าผู้เรียนได้บรรลุวัตถุประสงค์การเรียนรู้ที่ได้กำหนดไว้หรือไม่
มีองค์ประกอบ 3 ประการคือ1. ผลการวัด( Measurement) ทำให้ทราบสภาพความจริงของสิ่งที่จะประเมินว่ามีปริมาณเท่าไร มีคุณสมบัติอย่างไร เพื่อนำข้อมูลไปพิจารณา2. เกณฑ์การพิจารณา ( criteria) ในการที่จะตัดสินใจหรือลงสรุปสิ่งใดจะต้องมีมาตรฐานสำหรับสิ่งที่จะเปรียบเทียบกับสิ่งที่ได้จากการวัด3. การตัดสินใจ ( Decision ) เป็นการชี้ขาดหรือสรุปผลการเปรียบเทียบระหว่างผลการวัดกับเกณฑ์ที่กำหนดว่าสอดคล้องกันหรือไม่ การตัดสินใจที่ดีต้องอาศัยการพิจารณาอย่างถี่ถ้วน กระทำอย่างยุติธรรมความมุ่งหมายของการประเมินทางการศึกษาการประเมินทางการศึกษามีความหมายทางการประเมินทางการประเมินพอสรุปได้ 3 ประการ1. การประเมินเพื่อวินิจฉัย เป็นการประเมินเพื่อตรวจสอบหาข้อบกพร่อง ปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน2. การประเมินเพื่อปรับปรุง เป็นการปรับปรุงระหว่างการดำเนินงานโดยพิจารณาว่าจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้ตรงกับความต้องการ และเป็นที่ยอมรับหรือไม่3. การประเมินเพื่อตัดสินเพื่อลงสรุป เป็นประเมินการดำเนินงานว่าการดำเนินงานนั้นมีประสิทธิภาพหรือไม่ความสำคัญของการประเมินทางการศึกษา1. ช่วยชี้ให้เห็นว่าการดำเนินงานเหมาะสมเพียงใด2. ทำให้ทราบว่าการดำเนินงานบรรลุตามจุดประสงค์หรือไม่3. ช่วยกระตุ้นให้มีการเร่งรัด ปรับปรุง และการดำเนินงาน4. ช่วยเห็นข้อบกพร่องในการดำเนินงานในแต่ละขั้นตอนเป็นหลักในการปรับปรุงในการดำเนินงาน5. ช่วยควบคุมการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพ6. เป็นแนวทางในการกำหนดวิธีการในการดำเนินงานครั้งต่อไปหลักการของการประเมินผลทางการศึกษา1. กำหนดสิ่งที่จะประเมินให้ชัดเจนและวัดได้ เป็นการกำหนดว่าจะตัดสินใจให้คุณค่าในเรื่องอะไร2. วางแผนการประเมินให้รัดกุม ผู้ประเมินมีการวางแผนเก็บข้อมูล ที่เที่ยงตรงและเชื่อมั่นได้3. เกณฑ์ที่ใช้ในการประเมินต้องสัมพันธ์กับสิ่งที่ต้องการวัดและจุดมุ่งหมายของการประเมิน4. เลือกใช้เครื่องมือในการประเมินที่มีคุณภาพให้เหมาะสมกับสิ่งที่จะประเมิน5. ปราศจากความลำเอียงสรุปแล้วการประเมินจะต้องใช้ดุลยพินิจด้วยความรอบคอบก่อนตัดสินใจ จะต้องประเมินด้วยความเที่ยงธรรมและมีคุณธรรมอย่างสูง

ใบงานที่ 6

ให้นักศึกษาศึกษาวัฒนธรรมองค์กรจากเอกสารและในInternet แล้วแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังนี้
1.ความหมายวัฒนธรรมองค์กร คืออะไร
2.ทำไมหากเราไปเป็นครูสอนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เราควรจะศึกษาอะไรบ้างที่จะทำให้อยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
3.รูปแบบวัฒนธรรมการทำงานเป็นทีมเกิดขึ้นได้อย่างไร
4.การเรียนรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร
1.ตอบ วัฒนธรรมองค์กร หมายถึงทุกสิ่งทุกอย่างที่บุคคลในองค์กรหนึ่งปฎิบัติเหมือนๆกัน เป็นเอกลักษณ์ขององค์กรนั้น เกิดจากการเชื่อมโยง ผสมผสานระหว่างเจตคติของบุคคล ค่านิยม ความเชื่อ และการกระทำของบุคคลของกลุ่มองค์กร

2.ตอบ หากเราไปเป็นครูที่สอนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เราควรเรียนรู้วัฒนธรรมของท้องถิ่นนั้นๆเพราะการเข้าไปอยู่ร่วมกันเราต้องปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมนั้นและค่านิยม ความเชื่อของศาสนาของคนหมู่มาก

3.ตอบ ในการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม จะเน้นการถ่ายถอดประสบการณ์ภายในสถานที่ทำงาน ท่ามกลางการปฎิบัติหน้าที่ประจำตามปกติโดยการปฎิบัติที่สำคัญ 4 ประการ คือ 1. ใช้การเสวนาแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นซึ่งกันและกัน 2. ใช้การอภิปราย 3. ใช้เทคนิคของการบริหารงานเป็นทีม 4.ใช้เทคนิคการบริหารโครงการธุรกิจ

4.ตอบ ในการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม จำเป็นต้องอาศัยพื้นฐานแห่งความสำเร็จ 2 ประการ คือ 1. สถานภาพที่แท้จริง ณ ปัจจุบัน คือเราจะต้องรู้ตัวเรา ทีมงานของเรา มีจุดอ่อนจุดบกพร่องตรงไหน มีความเก่งและจุดแข็งตรงไหน 2. ความสามารถในการเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้ ซึ่งการเรียนรู้หลายรูปแบบ

ใบงานที่ 5

ท่านจะนำประเด็นต่อไปนี้ไปใช้ในการเป็นครูที่ดีได้อย่างไร พร้อมยกตัวอย่างประกอบ
1.การอยู่ร่วมกันในหอพักนักศึกษา
2.การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
3.หากเราทะเลาะกันจะนำหลักการมนุษยสัมพันธ์ไปใช้ได้อย่างไร
4.แนวคิดเชิงบวกเป็นอย่างไร


1.ตอบ ในการอยู่ร่วมกันในหอพัก สิ่งแรกที่จะต้องให้เกิดการมีมนูษยสัมพันธิ์ที่ดีต่อกัน ควรจัดกิจกรรมเพื่อให้เด็กเกิดความสามัคคีกันในหอพักนักศึกษา การรู้จักให้อภัย การมีน้ำใจต่อกันและกัน

2.ตอบ การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มมีความจำเป็นสำหรับการเรียนการสอนของเราเป็นอย่างมาก เพราะในการทำงานบางสิ่งบางอย่างต้องอาศัยการทำงานกันในกลุ่มคนเยาะๆ งานบางอย่างจะประสบผลสำเร็จ และการทำงานเป็นกลุ่มจะสอนให้เกิดความสามัคคี การรู้จักให้อภัย การมีน้ำใจที่จะมีให้เพื่อนในกลุ่ม

3.ตอบ หากเราเกิดการทะเลาะกัน ควรนำหลักการสร้างมนุษยสัมพันธ์ตามแนวคิดพระพุทธศาสนาไปใช้คือ ปิยวาจา การเจรจาด้วยถ้อยคำที่ไพเราะรื่นหูสุภาพมีคำพูดที่สัจจะเชื่อถือได้ อัตถจริยา การร่วปฎิบัติงานที่เกื้อกูลกัน และสมานัตตา การประฤติวางตัสเสมอต้นเสมอปลาย ทำตัวของเราให้เข้ากับคนทั้งหลายได้

4.ตอบ เป็นการสื่อความที่มุ่งหวังให้เกิดการแสวงหาหนทางที่ใช้ปรับปรุง และแก้ไขเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในชีวิติให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งไม่ใช่การจับผิด และไม่พูดตำหนิติเตียนหรือวิจารณ์

ใบงานที่ 4

ให้นักศึกษาอธิบายในประเด็นดังนี้
1.หลักการของการทำงานเป็นทีมควรเป็นอย่างไร
2.มีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้การทำงานเป็นทีมประสบผลสำเร็จ
3.ในฐานะที่ท่านเป็นครูท่านจะนำวิธีการทำงานเป็นทีมไปประยุกต์ใช้กับการสอนได้อย่างไร

1.ตอบ 1.การมีอุดมการที่แน่นอน และสมาชิกทุกคนยอมรับ
2. ยึดมั่นในความถูกต้อง
3.ใช้หลัการประนีประนอม
4.ถือหลักการให้อภัยระหว่างกันเสมอ
5.มีสำนึกในสัดส่วนการปฎิบัติงาน ไม่เอาเปรียบกัน
6. ถือว่าทุกคนมีความเท่าเทียมกัน
7. เคารพสิทธิเสรีภาพส่วนตัวของเพื่อนสมาชิก
8.เปิดใจกว้างระหว่างกัน
9.รู้จักแบ่งงานประสานงาน

2.ตอบ 1.สมาชิกทุกคนต้องรู้และเข้าใจในวัตถุประสงค์ของงาน
2.สมาชิกทุกคนรู้ถึงความรู้ ความสามารถ และพฤติกรรมของตนเองและของเพื่อน
3.สมาชิกในทีมรู้กระจ่างถึงบทบาทของตนในการทำงานร่วมทีม
4.มีกฎระเบียบในการปฎิบัติงาน
5.มีการติดต่อสื่อสารที่ดีในระหว่างสมาชิก

3.ตอบ ในฐานะที่เราเป็นครูการทำงานร่วมกันเป็นทีมสำหรับเพื่อนร่วมงานมีความจำเป็นอย่างยิ่งเพื่อทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ และสำหรับการเรียนการสอนควรสอนให้เด็กรู้จักการทำงานเป็นทีม รู้จักการให้ความช่วยเหลือเพื่อนในกลุ่ม ทำให้เกิดความสามัคคีเพื่อให้เกิดประสบการณ์ในการทำงานเป็นทีมและงานจะสำเร็จลุล่วงไปได้ด้วยดี

ใบงานที่3

ให้นักศึกษาอธิบายในประเด็นดังต่อไปนี้
1.ความหมายองค์และองค์การ
2.องค์ประกอบของการสื่อสาร
3.การสื่อสารมีช่องสื่อสารอย่างไรบ้าง
4.วัตถุประสงค์ของการสื่อสารมีอะไรบ้าง
5.ในฐานะที่เป็นนักศึกษาครูจะนำวิธีการสื่อสารไปใช้ได้อย่างไร



1.ตอบ องค์กร หมายถึง ส่วนประกอบย่อยของหน่วยงานใหญ่ทำหน้าที่สัมพันธิ์กันหรือขึ้นต่อกันและกัน องค์การ หมายถึงการทำงานร่วมกันระหว่างคนสองคนขึ้นไปเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ร่วมกันบางประการที่ได้มีการวางแผนประสานงานไว้ล่วงหน้าแล้ว

2.ตอบ ผู้ส่งข่าวสาร ข้อมูลข่าวสาร สื่อในช่องทางการสื่อสาร ผู้รัข่าวสาร ความเข้าใจแลการตอบสนอง

3.ตอบ รูปแบบการสื่อสารแบบ circle แบบ wheel แบบ chain แบบ the Y แบบ all-channel

4.ตอบ 1.เพื่อแจ้งให้ทราบหรือเพื่อทราบ หมายถึง การสื่อสารที่ผู้ส่งสารจะแจ้งหรือบอกกล่าวข่าวสาร
2.เพื่อสอนหรือให้การศึกษา หมายถึง การสื่อสารที่มุ่งจะให้ผู้รับมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านองค์ความรู้
3.เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง หมายถึง การสื่อสารที่มุ่งให้เกิดผลทางด้านจิตใจ 4.เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ มุ่งเน้นให้ผู้รับสารมีพฤติกรรมคล้อยตาม

5.ตอบ ในฐานะที่เราเป็นครูการสื่อสารมีความจำดป็นในการเรียนการสอนอย่างดี เพราะฉะนั้นเราควรเลือกใช้วิธีที่เราสื่อสารแล้วทำให้เด็กที่รับสารนั้นมีความเข้าใจในเรื่งที่เราสื่อสารออกไป

ใบงานที่ 2

เรื่อง ภาวะผู้นำในการบริหารการศึกษา
1. นักศึกษาให้ความหมาย ผู้นำ ผู้บริหาร เหมือนหรือต่างกันอย่างไร
2. นักศึกษาสรุปบทบาทและภาระหน้าที่ของผู้นำ
3. นักศึกษาจะมีวิธีการพัฒาภาวะผู้นำของนักศึกษาได้อย่างไร
4. นักศึกษากล่าวถึงภาวะผู้นำสมัยใหม่จะต้องมีวิธีคิดอย่างไร
5. นักศึกษาคิดว่า ประสิทธิภาพของภาวะผู้นำที่ดีควรทำอย่างไร


1. ตอบ มีความเเตกต่างกัน กล่าวคือผู้นำ หมายถึง บุคคลซึ่งได้รับการเเต่งตั้งหรือได้รับการยินยอมจากสมาชิกในกลุ่มให้เป็นหัวหน้าหรือตำเเหน่งเเละหน้าที่เป็นผู้ตัดสินใจในกลุ่มผู้นำ หมายถึง ผู้ที่สามารถชักจูงหรือโน้มน้าว หรือใช้อิทธิพลให้ผู้อื่น ให้สำเร็จตามวัตถุประสงค์ขององค์กรผู้บริหาร หมายถึง ผู้ที่แบ่งงานให้ผู้ใต้บังคับบัญชาตามความรู้ความสามารถ แล้วนิเทศงานอย่างเป็นระบบ พร้อมให้คำแนะนำอย่างเหมาะสม เพื่อให้งานบรรลุผลอย่างมีคุณภาพ
2.ตอบภาวะผู้นำมีบทบาทที่แบ่งอย่างกว้างๆ ออกเป็น 4 ประการ (พรทิพย์ อัยยิมาพันธ์, 2547: 68) ได้แก่ 1.การกำหนดแนวทางหลัก (Pathfinding) ผู้นำควรเริ่มต้นด้วยการกำหนดเป้าหมายและแนวความคิดที่ชัดเจน บทบาทดังกล่าวจะช่วยให้ผู้นำสร้างแผนงานแม่แบบ (blueprint of action) ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของหลักการก่อนจะลงมือปฏิบัติตามแผน นอกจากนั้น ไม่เพียงแต่ต้องรู้ถึงวิธีการกำหนดทิศทางและเป้าหมายเท่า ผู้นำต้องมีความสามารถนำให้ผู้อื่นมีส่วนร่วมในการสร้างพันธกิจ วิสัยทัศน์ และสื่อสารอย่างชัดเจนถึงความแตกต่างและผลประโยชน์ที่พนักงานจะได้รับจากความสำเร็จในอนาคต อีกทั้งยังสามารถทำให้พนักงานมีแรงจูงใจและรู้สึกตื่นเต้นกับทิศทางใหม่นี้ด้วย2.การสร้างระบบการทำงานที่มีประสิทธิผล (Aligning) การสร้างระบบการทำงานที่มีประสิทธิผลหรือการทำให้องค์การดำเนินไปในทิศทางเดียวกัน คือการลงมือสร้างแผนหลักที่กำหนดขึ้นในขั้นตอนที่หนึ่ง ทุกระดับชั้นขององค์การควรมีการดำเนินการไปในทิศทางเดียวกันเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์เดียว3.การมอบอำนาจ หากผู้นำมีการมอบอำนาจให้แก่พนักงานอย่างจริงจังจะทำให้บรรยากาศในการทำงานมีความไว้วางใจซึ่งกันและกัน การสื่อสารระหว่างบุคคลและระหว่างกลุ่มเกิดประสิทธิผลและเกิดผลลัพธ์ใหม่ๆที่สร้างสรรค์ ซึ่งมาจากการที่สมาชิกของกลุ่มหรือพนักงานสามารถแสดงความคิดเห็นและศักยภาพของตนได้อย่างอิสระ โดยผู้นำต้องสร้างสภาวะที่จะกระตุ้นการสร้างเสริมและปลดปล่อยความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ความสามารถพิเศษเฉพาะตัว ความสามารถ และศักยภาพที่มีอยู่ในบุคคลทุกคน4.การสร้างตัวแบบ (Modeling) หัวใจของการเป็นผู้นำคือ ต้องสร้างความน่าเชื่อถือ เพราะไม่เพียงแต่รู้ว่าจะต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างไรเท่านั้น แต่ผู้นำยังต้องมีคุณสมบัติของผู้นำที่ดีด้วย กล่าวคือ ต้องเข้าใจถึงความสำคัญของดุลยภาพระหว่างคุณลักษณะ (Characteristics) กับความรู้ความสามารถ เพราะไม่ว่าบุคคลจะมีความสามรถเพียงใดก็ไม่สามารถจะเป็นผู้นำที่แท้จริงได้ หากปราศจากซึ่งคุณลักษณะที่เหมาะสม
3.ตอบ ผมคิดว่าการพัฒนาภาวะผู้นำจะต้องพัฒนาตัวเองอยู่เสมอให้นำหน้าบุคคลอื่น โดยเฉพาะพัฒนาตัวเราเองให้ทันสมัยทันเหตุการณ์อยู่เสมอ เราสามารถพัฒนาภาวะผู้นำอาจที่เราสามารถทำได้เเบ่งเป็น ดังนี้1. เรียนจากนาย Learn from bosses คือ ถ้าเราได้นายดี เราจะเรียนรู้อะไรมากมายจากนาย ตรงข้ามถ้านายเราไม่ดี เราก็พลอยแย่ไปด้วย ผู้นำที่ดีจะต้องเป็นนายที่ดีของลูกน้อง หรือผู้ใต้บังคับบัญชาด้วย การเรียนจากบทบาทแบบอย่าง (Roles) จะทำให้ผู้นำพัฒนาภาวะผู้นำมากยิ่งขึ้น ผู้นำหลายคนเรียนรู้จากความผิดพลาดของตัวเอง ซึ่งความผิดพลาดจะกลายเป็นบทเรียนชั้นดีได้2. เรียนจากผู้อื่น Learn from people คือ ผู้นำต้องพร้อมที่จะเรียน พร้อมที่จะเป็นพี่เลี้ยงที่ดี ผู้ใดที่อยู่ในกลุ่มคนเรียนเก่งก็จะเก่งไปด้วย แต่ตรงข้ามถ้าอยู่ในกลุ่มของคนเรียนอ่อนก็พลอยเป็นคนเรียนอ่อนไปด้วย เหมือนคำโบราณที่กล่าวว่า “คบคนพาลพาลพาไปหาผิด คบบัณฑิตบัณฑิตพาไปหาผล”3. เรียนจากงานที่ทำ Learn on the job คือ เช่น เราไปดูโรงเรียนดีเด่น ผู้บริหารของโรงเรียนดีเด่น มักจะไม่ดูว่าเขาทำอย่างไรจึงได้รับความสำเร็จเป็นโรงเรียนดีเด่น คือเราไม่ดูกระบวนการ (Process) หรือ วิธีการ อย่าลืมว่า งานยิ่งท้าทายมากเท่าไรคนยิ่งใช้ความพยายามมากขึ้น คนยิ่งกระตือรือร้นยิ่งขึ้น เป็นการท้ายทายกระตุ้นความสามารถยิ่งขึ้น4. การฝึกอบรมและปฏิบัติการ . Training and workshop คือ เป็นสิ่งที่ผู้นำจะพัฒนาภาวะผู้นำของตัวเองได้ การฝึกอบรม (Training) มีอยู่ 4 รูปแบบคือ4.1 New Leader คือ ผู้นำคำใหม่ ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงตำแหน่งใหม่ เลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น จะต้องมีการฝึกอบรม เช่น ครูใหญ่ อาจารย์ใหญ่ ผู้อำนวยการ จะมีการฝึกอบรมก่อนจะเข้ารับตำแหน่งเสมอ4.2 Management Development คือ การพัฒนาการวิธีการจัดการ การฝึกอบรมจะเน้นทักษะในการทำงาน จะต้องทำให้ดีกว่า เน้นความเชี่ยวชาญเฉพาะอย่าง เช่น เมื่อมีกฎ ระเบียบ ออกมาใหม่ จะต้องเข้าอบรมเสียก่อน จะต้องฝึกให้เป็นผู้เชี่ยวชาญ ผู้นำก็เช่นเดียวกัน ถ้ารู้กฎ ระเบียบ แบบแผน กฎเกณฑ์ ข้อมูลใหม่ ๆ ท่านสามารถให้คำแนะนำปรึกษาแก่ผู้ใต้บังคับบัญชาของท่านได้4.3 Leadership Enhancement คือ เพิ่มพูนภาวะผู้นำ หรือความเป็นผู้นำ หมายถึง ฝึกความสามารถ4.4 Leadership Vitality คือ ฝีกสิ่งสำคัญของภาวะผู้นำ หรือความเป็นผู้นำ หมายถึง ทุกคนรักความก้าวหน้า จะฝึกอย่างไรให้เขามีความก้าวหน้าเพราะทุกคนต้องการ
4. ตอบ บุคคลที่มีภาวะผู้นำผมคิดว่าจะต้องมีวิธีคิดคือ1. ความรู้ (Knowledge)การเป็นผู้นำนั้น ความรู้เป็นสิ่งจำเป็นที่สุด ความรู้ในที่นี้มิได้หมายถึงเฉพาะความรู้เกี่ยวกับงานในหน้าที่เท่านั้น หากแต่รวมถึงการใฝ่หาความรู้เพิ่มเติมในด้านอื่นๆ ด้วย การจะเป็นผู้นำที่ดี หัวหน้างานจึงต้องเป็นผู้รอบรู้ ยิ่งรอบรู้มากเพียงใด ฐานะแห่งความเป็นผุ้นำก็จะยิ่งมั่นคงมากขึ้นเพียงนั้น2. ความริเริ่ม (Initiative)ความริเริ่ม คือ ความสามารถที่จะปฏิบัติสิ่งหนึ่งสิ่งใดในขอบเขตอำนาจหน้าที่ได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องคอยคำสั่ง หรือความสามารถแสดงความคิดเห็นที่จะแก้ไขสิ่งหนึ่งสิ่งใดให้ดีขึ้น หรือเจริญขึ้นได้ด้วยตนเอง3. มีความกล้าหาญและความเด็ดขาด ( Courage and firmness)ผู้นำที่ดีจะต้องไม่กลัวต่ออันตราย ความยากลำบาก หรือความเจ็บปวดใดๆ ทั้งทางกายวาจา และใจผู้นำที่มีความกล้าหาญ จะช่วยให้สามารถผจญต่องานต่างๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้นอกจากความกล้าหาญแล้ว ความเด็ดขาดก็เป็นลักษณะอันหนึ่งที่จะต้องทำให้เกิดมีขึ้นในตัวของผู้นำเองต้องอยู่ในลักษณะของการ “กล้าได้กล้าเสีย” ด้วย4. มีความยุติธรรมและซื่อสัตย์สุจริต ( Fairness and Honesty)ผู้นำที่ดีจะต้องอาศัยหลักของความถูกต้อง หลักแห่งเหตุผลและความซื่อสัตย์สุจริตต่อตนเองและผู้อื่น เป็นเครื่องมือในการวินิจฉัยสั่งการ หรือปฏิบัติงานด้วยจิตที่ปราศจากอคติ ปราศจากความลำเอียง ไม่เล่นพรรคเล่นพวก5 . มีความอดทน (Patience)ความอดทน จะเป็นพลังอันหนึ่งที่จะผลักดันงานให้ไปสู่จุดหมายปลายทางได้ อย่างแท้จริง6. มีความตื่นตัวแต่ไม่ตื่นตูม ( Alertness )ความตื่นตัว หมายถึง ความระมัดระวัง ความสุขุมรอบคอบ ความไม่ประมาท ไม่ยืดยาขาดความกระฉับกระเฉง มีความฉับไวในการปฏิบัติงานทันต่อเหตุการณ์ความตื่นตัวเป็นลักษณะที่แสดงออกทางกาย แต่การไม่ตื่นตูม เป็นพลังทางจิตที่จะหยุดคิดไตร่ตรองต่อเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้น รู้จักใช้ดุลยพินิจที่จะพิจารณาสิ่งต่างๆ หรือเหตุต่างๆได้อย่างถูกต้องพูดง่ายๆ ผู้นำที่ดีจะต้องรู้จักควบคุมตัวเองนั่นเอง (Self control)8. มีความภักดี (Loyaltyผมคิดว่า ประสิทธิภาพของภาวะผู้นำ จะต้องมีสมบัติดังนี้1.ต้องเป็นนักเผด็จการ หมายถึงผู้บริหารสามารถจะสั่งการได้อย่างเด็ดขาด ผลผลิตที่ได้มาส่วนใหญ่จะมาด้วยปริมาณ ส่วนเรื่องคุณภาพที่จะดีในช่วงแรก ๆ หากผู้นำสามารถสอดส่องดูแลอยู่ตลอดเวลา ผลผลิตก็อาจจะมีทั้งปริมาณและคุณภาพที่ดีตามไปด้วย2. ต้องเป็นนักพัฒนา ผู้นำประเภทนี้จะต้องมีผู้ร่วมงานที่รู้ใจ สามารถสร้างสรรงานใหม่ ๆ ตลอดเวลา3 .ต้องเป็นนักบริหาร ผู้นำประเภทนี้จะใช้การทำงานด้วยวิธีใหม่ ๆ เปิดโอกาสให้สมาชิกได้ร่วมแสดงความคิดเห็นแม้กระทั่งในการวางนโยบายต่าง ๆ การทำงานโดยทั่วไปจึงเป็นไปในลักษณะประชาธิปไตย ผู้ร่วมงานจะต้องเป็นผู้มีคุณภาพเพียงพอ สามารถตอบสนองการทำงานในระบบใหม่ ๆ ได้เป็นอย่างดี4.ต้องเป็นนักเผด็จการอย่างมีศิลปะ ผู้นำประเภทนี้เป็นนักพูดที่เฉลียวฉลาด จะใช้การพูดเป็นการชักชวนให้เกิดการทำงานด้วยความเต็มใจ มีการเสนอแนะและหว่านล้อม ให้เห็นคล้อยตามไปโดยปริยาย)การเป็นผู้นำหรือหัวหน้าที่ดีนั้น
5. ตอบ ประสิทธิภาพของภาวะผู้นำ จะต้องมีสมบัติดังนี้1.ต้องเป็นนักเผด็จการ หมายถึงผู้บริหารสามารถจะสั่งการได้อย่างเด็ดขาด ผลผลิตที่ได้มาส่วนใหญ่จะมาด้วยปริมาณ ส่วนเรื่องคุณภาพที่จะดีในช่วงแรก ๆ หากผู้นำสามารถสอดส่องดูแลอยู่ตลอดเวลา ผลผลิตก็อาจจะมีทั้งปริมาณและคุณภาพที่ดีตามไปด้วย2. ต้องเป็นนักพัฒนา ผู้นำประเภทนี้จะต้องมีผู้ร่วมงานที่รู้ใจ สามารถสร้างสรรงานใหม่ ๆ ตลอดเวลา3 .ต้องเป็นนักบริหาร ผู้นำประเภทนี้จะใช้การทำงานด้วยวิธีใหม่ ๆ เปิดโอกาสให้สมาชิกได้ร่วมแสดงความคิดเห็นแม้กระทั่งในการวางนโยบายต่าง ๆ การทำงานโดยทั่วไปจึงเป็นไปในลักษณะประชาธิปไตย ผู้ร่วมงานจะต้องเป็นผู้มีคุณภาพเพียงพอ สามารถตอบสนองการทำงานในระบบใหม่ ๆ ได้เป็นอย่างดี4.ต้องเป็นนักเผด็จการอย่างมีศิลปะ ผู้นำประเภทนี้เป็นนักพูดที่เฉลียวฉลาด จะใช้การพูดเป็นการชักชวนให้เกิดการทำงานด้วยความเต็มใจ มีการเสนอแนะและหว่านล้อม ให้เห็นคล้อยตามไปโดยปริยาย

ใบงานที่ 1

ทฤษฎีและหลักการจัดการบริหารการศึกษา
1. นักศึกษาให้คำนิยาม การบริหาร การบริหารการศึกษา
2. นักศึกษาอธิบายคำว่าศาสตร์และศิลป ยกตัวอย่างประกอบ
3. นักศึกษากล่าวสรุปการวิวัฒนาการบริหารอย่างย่อ ๆพอสังเขป
4. นักศึกษาอธิบายทฤษฎีมาสโลว์ ทฤษฎีภาวะผู้นำ ทฤษฎีX ทฤษฎีY
5. ทฤษฎีอธิบายมนุษยสัมพันธ์และแรงจูงใจ


1.ตอบ การบริหาร หมายถึง กระบวนการการทำงานร่วมกับผู้อื่นเพื่อให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามเป้าหมายอย่างมีประสิทธิภาพก
การบริหารการศึกษา หมายถึง กิจกรรมต่างๆ ที่บุคคลหลายคนร่วมกันดำเนินการ เพื่อพัฒนาสมาชิกในทุกๆด้าน นับแต่บุคลิกภาพ ความรู้ ความสามารถ และเจตคติ พฤติกรรม และคุณธรรม เพื่อให้ค่านิยมตรงกับความต้องการของสังคมโดยกระบวนการต่างๆ

2.ตอบ ศาสตร์ คือ "ระบบวิชาความรู้"ส่วนศิลป์ ในที่นี้หมายถึง "ฝีมือในการจัดการที่ให้ความสนใจปัจจัยทางด้านสังคม อารมณ์และความรู้สึกมาเป็นองค์ประกอบในการตัดสินใจด้วย''การทำงานหรือการแก้ปัญหาต่าง ๆ จะใช้แต่ศาสตร์ (วิชาความรู้) อย่างเดียวไม่พอ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาเล็ก ๆ ของตัวเราเอง ปัญหาในองค์การ ปัญหาสังคม หรือแม้แต่ปัญหาระดับชาติ ก็คงต้องใช้ทั้งศาสตร์และศิลป์ในการแก้ปัญหา เพื่อจะได้ผลลัพท์ที่ดีที่สุดนั่นเอง 2 ปี ผ่านไปตัวอย่าง โฆษณาผลิตภัณฑ์รูปแบบใหม่
3.ตอบ ทฤษฎีทางการบริหารและวิวัฒนาการการบริหารการศึกษาระยะที่ 1 ระหว่าง ค.ศ. 1887 – 1945(ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 10) ยุคนักทฤษฎีการบริหารสมัยดั้งเดิม (The Classical organization theory) แบ่งย่อยเป็น 3 กลุ่มดังนี้1.กลุ่มการจัดการเชิงวิทยาศาสตร์ของเทย์เลอร์ (Scientific Management)ของ เฟรดเดอริกเทย์เลอร์ (Frederick Taylor) ความมุ่งหมายสูงสุดของแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์คือ จัดการบริหารธุรกิจหรือโรงงานให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด Taylor มองคนงานแต่ละคนเปรียบเสมือนเครื่องจักรที่สามารถปรับปรุงเพื่อเพิ่มผลผลิตขององค์การได้ เจ้าของตำรับ “The one best way” คือประสิทธิภาพของการทำงานสูงสุดจะเกิดขึ้นได้ต้องขึ้นอยู่กับสิ่งสำคัญ 3 อย่างคือ1.1 เลือกคนที่มีความสามารถสูงสุด (Selection)1.2 ฝึกอบบรมคนงานให้ถูกวิธี (Training)1.3 หาสิ่งจูงใจให้เกิดกำลังใจในการทำงาน (Motivation)เทย์เลอร์ เสนอ ระบบการจ้างงาน(จ่ายเงิน)บนพื้นฐานการสร้างแรงจูงใจ จึงสรุปหลักวิทยาศาสตร์ของเทยเลอร์ได้ง่ายๆประกอบด้วย 3 หลักการดังนี้1. การแบ่งงาน (Division of Labors)2. การควบคุมดูแลบังคับบัญชาตามสายงาน (Hierarchy)3. การจ่ายค่าจ้างเพื่อสร้างแรงจูงใจ (Incentive payment)2. กลุ่มการบริหารจัดการ(Administration Management) หรือ ทฤษฎีบริหารองค์การอย่างเป็นทางการ(Formal Organization Theory ) ของ อังรี ฟาโยล์ (Henri Fayol) บิดาของทฤษฎีการปฏิบัติการและการจัดการตามหลักบริหาร ทั้ง Fayol และ Taylor จะเน้นตัวบุคลปฏิบัติงาน + วิธีการทำงาน ได้ประสิทธิภาพและประสิทธิผลแต่ก็ไม่มองด้าน “จิตวิทยา” (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 17)Fayol ได้เสนอแนวคิดในเรื่องหลักเกี่ยวกับการบริหารทั่วไป 14 ประการ แต่ลักษณะที่สำคัญ ดร.วิชัย ตันศิริ ได้นำเสนอในหนังสือ อุดมการณ์ทางการศึกษาทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ดังนี้2.1 หลักการทำงานเฉพาะทาง (Specialization) คือการแบ่งงานให้เกิดความชำนาญเฉพาะทาง2.2 หลักสายบังคับบัญชา เริ่มจากบังคับบัญชาสูงสุดสู่ระดับต่ำสุด2.3 หลักเอกภาพของบังคับบัญชา (Unity of Command)2.4 หลักขอบข่ายของการควบคุมดูแล (Span of control) ผู้ดูแลหนึ่งคนต่อ 6 คนที่จะอยู่ใต้การดูแลจึงจะเหมาะสมและมีประสิทธิภาพที่สุด2.5 การสื่อสารแนวดิ่ง (Vertical Communication) การสื่อสารโดยตรงจากเบื้องบนสู่เบื้องล่าง2.6 หลักการแบ่งระดับการบังคับบัญชาให้น้อยที่สุด คือ ไม่ควรมีสายบังคับบัญชายืดยาว หลายระดับมากเกินไป2.7 หลักการแบ่งความรับผิดชอบระหว่างสายบังคับบัญชาและสายเสนาธิการ (Line and Staff Division)3. ทฤษฎีบริหารองค์การในระบบราชการ (Bureaucracy) มาจากแนวคิดของ แมกซ์ เวเบอร์ (Max Weber) ที่กล่าวถึงหลักการบริหารราชการประกอบด้วย3.1 หลักของฐานอำนาจจากกฎหมาย3.2 การแบ่งหน้าที่และความรับผิดชอบ ที่ต้องยึดระเบียบกฎเกณฑ์3.3 การแบ่งงานตามความชำนาญการเฉพาะทาง3.4 การแบ่งงานไม่เกี่ยวกับผลประโยชน์ส่วนตัว3.5 มีระบบความมั่นคงในอาชีพจะอย่างไรก็ตามระบบราชการก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย ซึ่งในด้าน ข้อเสีย คือ สายบังคับบัญชายืดยาวการทำงานต้องอ้างอิงกฎระเบียบ จึงชักช้าไม่ทันการแก้ไขปัญหาในปัจจุบัน เรียกว่า ระบบ “Red tape” ในด้านข้อดี คือ ยึดประโยชน์สาธารณะเป็นหลัก การบังคับบัญชา การเลื่อนขั้นตำแหน่งที่มีระบบระเบียบ แต่ในปัจจุบันระบบราชการกำลังถูกแทรกแซงทางการเมืองและทางเศรษฐกิจ ทำให้เริ่มมีปัญหาระยะที่ 2 ระหว่าง ค.ศ. 1945 – 1958 (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 10) ยุคทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ (Human Relation ) Follette ได้นำเอาจิตวิทยามาใช้และได้เสนอการแก้ปัญหาความขัดแย้ง(Conflict) ไว้ 3 แนวทางดังนี้1. Domination คือ ใช้อำนาจอีกฝ่ายสยบลง คือให้อีกฝ่ายแพ้ให้ได้ ไม่ดีนัก2. Compromise คือ คนละครึ่งทาง เพื่อให้เหตุการณ์สงบโดยประนีประนอม3. Integration คือ การหาแนวทางที่ไม่มีใครเสียหน้า ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ทาง (ชนะ ชนะ) นอกจากนี้ Follette ให้ทัศนะน่าฟังว่า “การเกิดความขัดแย้งในหน่วยงานเป็นความพกพร่องของการบริหาร” (ภาวิดา ธาราศรีสุทธิ, 2542: 25)การวิจัยหรือการทดลองฮอร์ทอร์น (Hawthon Experiment) ที่ เมโย(Mayo) กับคณะทำการวิจัยเริ่มที่ข้อสมมติฐานว่าสิ่งแวดล้อมมีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของคนงาน มีการค้นพบจากการทดลองคือมีการสร้างกลุ่มแบบไม่เป็นทางการในองค์การ ทำให้เกิดแนวความคิดใหม่ที่ว่า ความสัมพันธ์ของมนุษย์ มีความสำคัญมาก ซึ่งผลการศึกษาทดลองของเมโยและคณะ พอสรุปได้ดังนี้1. คนเป็นสิ่งมีชีวิต จิตใจ ขวัญ กำลังใจ และความพึงพอใจเป็นเรื่องสำคัญในการทำงาน2. เงินไม่ใช่ สิ่งล่อใจที่สำคัญแต่เพียงอย่างเดียว
4.ตอบ ทฤษฎีของมาสโลว์ ว่าด้วยการจัดอันดับขั้นของความต้องการของมนุษย์ (Maslow – Hierarchy of needs) เป็นเรื่องแรงจูงใจแบ่งความต้องการของมนุษย์ตั้งแต่ความต้องการด้านกายภาพ ความต้องการด้านความปลอดภัยความต้องการด้านสังคม ความต้องการด้านการเคารพ – นับถือ และประการสุดท้าย คือ การบรรลุศักยภาพของตนเอง (Self actualization) คือมีโอกาสได้พัฒนาตนเองถึงขั้นสูงสุดจากการทำงาน แต่ความต้องการเหล่านี้ ต้องได้รับการตอบสนองตามลำดับขั้นทฤษฏีภาวะผู้นำ แยกออกได้เป็นทฤษฏีผู้นำตามคุณลักษณะ ผู้นำต้องมีคุณลักษณะที่เหมาะสมแก่การเป็นผู้นำทฤษฏีผู้นำตามตัวแบบของวรูม เยตตัน และแจโก มุ่งวิเคราะห์องค์ประกอบต่าง ๆ ด้านสถานการณ์ ว่ามีผลกระทบต่อระดับความร่วมมือของพนักงานมากน้อยเพียงไรทฤษฏีภาวะผู้นำ ทฤษฎีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาวะผู้นำ แยกได้เป็นทฤษฎีคุณลักษณะผู้นำ ทฤษฏีพฤติกรรมผุ้นำ และทฤษฏีตามสถานการณ์ทฤษฎี X (The Traditional View of Direction and Control) ทฤษฎีนี้เกิดข้อสมติฐานดังนี้1. คนไม่อยากทำงาน และหลีกเลี่ยงความรับผิดชอบ2. คนไม่ทะเยอทะยาน และไม่คิดริเริ่ม ชอบให้การสั่ง3. คนเห็นแก่ตนเองมากว่าองค์การ4. คนมักต่อต้านการเปลี่ยนแปลง5. คนมักโง่ และหลอกง่าย ผลการมองธรรมชาติของมนุษย์เช่นนี้ การบริหารจัดการจึงเน้นการใช้เงิน วัตถุ เป็นเครื่องล่อใจ เน้นการควบคุม การสั่งการ เป็นต้นทฤษฎี Y (The integration of Individual and Organization Goal) ทฤษฎีข้อนี้เกิดจากข้อสมติฐานดังนี้ 1. คนจะให้ความร่วมมือ สนับสนุน รับผิดชอบ ขยัน2. คนไม่เกียจคร้านและไว้วางใจได้3. คนมีความคิดริเริ่มทำงานถ้าได้รับการจูงใจอย่างถูกต้อง4. คนมักจะพัฒนาวิธีการทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ผู้บังคับบัญชาจะไม่ควบคุมผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างเข้มงวด แต่จะส่งเสริมให้รู้จักควบคุมตนเองหรือของกลุ่มมากขึ้น ต้องให้เกียรติซึ่งกันและกัน
5 ตอบ ทฤษฏีการเสริมแรงของสกินเนอร์ การเสริมแรงของมนุษย์มีพื้นฐานอยู่บนปัจจัย 3 ประการ ได้แก่ มนุษย์จะมีพฤติกรรมตามการเสริมแรงที่เกิดขึ้นกับตนและการทำงานของตน เป็นพฤติกรรมที่สามารถวัดหรือสังเกตได้ และการเสริมแรงที่เหมาะสมนั้นจะทำให้พฤติกรรมที่เป็นที่ต้องการมีเพิ่มขึ้น และที่ไม่ต้องการมีลดน้อยลงไป แบ่งเป็น การเสริมแรงทางบวก คือ การให้รางวัลในผลลัพธ์จากการกระทำที่ต้องการหรือปรับปรุงพฤติกรรม และการเสริมแรงทางลบ คือ การให้รางวัลจากการสามารถขจัดสิ่งที่ไม่ต้องการออกไปได้ทฤษฏีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์ โครงสร้างบุคลิกภาพของมนุษย์ ประกอบไปด้วยพลัง 3 ประการ ได้แก่ Id Ego และ Superego