ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี พนมยงค์ หรือ หลวงประดิฐ์มนูธรรม ถึงแม้ท่านจะเสียชีวิตไปนานแล้วแต่ผลงานในการเป็นผู้นำของท่านยังเป็นแบบอย่างที่ดีในการเป็นผู้นำในเรื่องต่างๆของเราในปัจจุบันนี้ ท่านเป็นบุคคลสำคัญในการเปลี่ยนแปลงต่างๆของประเทศไทย และเราในฐานะคนไทยควรยึดเป็นแบบอย่างในการเป็นผู้นำ และนำมาปรับปรุงในการเป็นผู้นำของเรา
ประวัติในวัยเยาว์ของท่านปรีดี พนมยงค์
นายปรีดี พนมยงค์ เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2443 ณ เรือนแพหน้าวัดพนมยงค์ ต.ท่าวาสุกรี อ.กรุงเก่า จ.พระนครศร๊อยุธยา ในครอบครัวชาวนาไทย เป็นบุตรคนที่ 2 จากจำนวนพี่น้อง 6 คน ของลูกนายเสียงและนางลูกจันทร์ พนมยงค์
ผลงานการเป็นผู้นำของท่านปรีดี พนมยงค์
นายปรีดี พนมยงค์ ท่านเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย 3 สมัย และเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างๆอีกหลายสมัย นี่ไม่ใช่บทบาทการเป็นผู้นำของท่านมีเพียงเท่านี้แต่ท่านยังมีบทบาทอีกมากมายในการเป็นผู้นำของท่าน 11 พฤษภาคม 2543-2 พฤษภาคม 2526 ท่านเป็นผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475 ภายหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง ท่านถือเป็นผู้นำในการมีบทบาทสำคัญในการจัดวางรูปแบบการปกครองในระบบใหม่ เป็นผู้ให้กำเนิดรัฐธรรมนูญฉบับแรกของประเทศและเป็นท่านเป็นผู้ก่อตั้ง มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมือง และได้รับการแต่งตั้งให้เป็นผู้ประศาสน์การคนแรกและคนเดียวของมหาวิทยาลัยแห่งนี้ และในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านเป็นผู้นำขบวนการเสรีไทยทำหน้าที่ต่อต้านกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการเป็นผู้แพ้สงคราม จากการที่ดิฉันได้ศึกษาประวัติและผลงานของท่านปรีดี พนมยงค์ ดิฉันคิดว่าบทบาทการเป็นผู้นำของท่านให้แง่คิดที่ดีๆแก่ลูกหลานของคนไทยในสมัยนี้ได้เป็นอย่างดีตอนท่านยังมีชีวิตอยู่ท่านได้ปกป้องประเทศไทยในการแพ้สงคราม ทำทุกวิถีทางที่ให้ประเทศไทยอยู่อย่างสงบสุข และนี้คือบุคคลที่สำคัญที่เป็นบบอย่างที่ดีในการเป็นผู้นำของดิฉัน
นายปรีดี พนมยงค์